ประยุกต์ใช้ซิงค์ออกไซด์

การนำ Zinc Oxide ® และ ZoNOp ®(zinc oxide Nano particles )   ไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆดังนี้

อุตสาหกรรมการผลิตยาง :

• ซิงค์ออกไซด์ และ ซิงออกไซด์นาโน ถูกนำไปใช้เป็นสารลดแรงตึงผิวช่วยในการยืดอายุการใช้ งานของยางและใช้ในการผลิตยางที่สามารถป้องกันรอยขูดขีด

• ช่วยเพิ่มความแข็งแรงและลดระยะเวลาของ Cure Time โดยใช้ซิงค์ออกไซด์และกรดเสตียริกเกิดการเชื่อมโยงกับเนื้อยาง

• เพิ่มความต้านทานในการดูดซับแรงเสียดสีจากความร้อนที่จะส่งผลต่อการย่อยสลายของยาง

อนุภาคที่ขนาดใหญ่ : ช่วยป้องกันความบกพร่องของจุดนั้นนั้น

อนุภาคขนาดเล็ก : ช่วยในการเกิดปฏิกิริยาที่ดี

การผลิตน้ำยางสด :

• ซิงค์ออกไซด์ และ ซิงออกไซด์นาโน ถูกนำไปใช้ การป้องกันแบททีเรีย

อุตสาหกรรมเซรามิค :

• ซิงค์ออกไซด์ช่วยลดอุณหภูมิในการหลอมละลายและลดพลังงานในกระบวนการขึ้นรูปวัตถุ (Sintering)เพื่อลดการใช้พลังงานและช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์

เครื่องแก้ว : แก้วและอุปกรณ์เครื่องครัวที่มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนและเป็นคุณสมบัติที่ในการนำไปประยุกค์ใช้สำหรับเลนส์ที่เปลี่ยนความเข้มของสีเลนส์ตามความเข้มของแสงอาทิตย์ หรือแสง UV ซึ่งเรียกว่า Photochromic Lens

อุตสาหกรรมสี :

ซิงค์ออกไซด์เป็นสารป้องกันไฟฟ้าสถิต ที่มีความสามารถเป็นสารกึ่งตัวนำ สีป้องกันรังสี UV และสีป้องกันเชื้อรา-แบททีเรีย

– สีป้องกันเพรียงสำหรับเรือ(ป้องกันผิวเรือถูกเกาะด้วยเพรียงที่เกิดจากการใช้น้ำมันที่สูงขึ้นและการยืดเกาะของสิ่งมีชีวิตในทะเล เกิดความสกปรกซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพในการเดินเรือและสิ่งแวดล้อม

– สีป้องกันการกัดกร่อน, สีป้องกันไฟฟ้าสถิต

อุตสาหกรรมสิ่งทอ :

ซิงค์ออกไซด์ใช้เป็นสารเคลือบบนเส้นใย ช่วยในการยับยั้งแบคทีเรีย ป้องกันรังสียูวี และ คุณสมบัติด้านการระงับกลิ่นกาย

เครื่องสำอางและยา :

สำหรับครีมกันแดดในเครื่องสำอางเพื่อป้องกันรังสีสียูวีที่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีความสามารถในการดูดซับแสงUVA-UVB ที่มีผลทำให้ผิวไหม้และผิวเหียวย่นแก่ก่อนวัย ซึ่งซิงค์ออกไซด์มีคุณสมบัติได้ดีทำให้เนื้อครีมโปร่งใส ไม่ทำให้เนื้อครีมขาวเมื่อทาลงผิว

เป็นสารฆ่าเชื้อ ในครีมหรือขี้ผึ้ง โดยไม่กระตุ้นให้ผิวเกิดอาการข้างเคียง

อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ :

ซิงค์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกระบวนการสังเคราะห์พลังงานจากอาหารและกระบวนการย่อยโมเลกุลของอาหาร(เมตาบอริซึม)และมีผลต่อการป้องกันการท้องเสียในลูกสุกร และช่วยในการเจริญเติบโตที่ดี

– ตัวเร่งปฏิกิริยา : เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในสารอนินทรีย์และปฏิกิริยาดึงไฮโดรเจนออก (dehydrogenation)

-วาริสเตอร์ (Varistor) : ซิงค์ออกไซด์เป็นสารกึ่งตัวนำอีกชนิดหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานได้ตามระดับแรงดันไฟฟ้า เมื่อแรงดันไฟฟ้าสูงกว่าค่าที่กำหนดมันจะยอมให้กระแสไหลผ่านตัวมันเองได้ ยังผลให้สามารถรักษาระดับของแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพปกติ ป้องกันอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ให้ได้รับความเสียหาย เมื่อกระแสไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้าในวงจรเกิดการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น โดยวาริสเตอร์จะทำหน้าที่แบ่งกระแสไฟฟ้าหรือลดแรงดันไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้ามากเกินปกติ มิฉะนั้นวงจรอาจเกิดการเสียหายได้

สารเติมแต่งในน้ำมันหล่อลื่น :

การสังเคราะห์ Zinc, Dialkyl Dithiophosphate

 –  สารป้องกันการสึกหรอ ( Anti-Wear)

 – สารต้านทานการรวมตัวกับออกซิเจน (Anti-Oxidant)

 – สารชะล้างและกระจายสิ่งสกปรก (Detergent and Dispersants)

การสังเคราะห์เกลือของสารอนินทรีย์ :

การสังเคราะห์ซิงค์ซัลเฟต

-โมโนซัลเฟต (Monohydrate)

-เฮปตะซัลเฟต (Heptahydrate)

การสังเคราะห์เกลือของสารนินทรีย์ :

ปฏิกิริยาระหว่างซิงค์ออกไซด์และกรดไขมัน

– ซิงค์เสตรียเลทที่ใช้ในอุตสาหกรรมยาง (PVC) และ เภสัชอุตสาหกรรม

– ซิงค์แนปทาเนท(Zinc Naphthenate) ใช้เป็นสารกันบูดไม้

– ซิงค์อคลิเลท (Zinc Acrylate) ยังใช้ในยาง